วิทยฐานะของวิชาชีพครู: หนทางส่งเสริมหรือทำลายการศึกษาไทย
ACCREDITATION OF PROFESSIONAL TEACHER: THE WAY EITHER DEVELOP OR DESTROY THE EDUCATION
รัตนะ บัวสนธ์1, นันทิมา นาคาพงศ์2,
น้ำอ้อย วันตา3, ประภัสสร วงษ์ดี4
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน กระบวนการ และขั้นตอนการดำเนินงานจัดทำผลงานทางวิชาการของบุคลากรทางการศึกษา ใน 3 ตำแหน่ง ได้แก่ ครู ผู้อำนวยการสถานศึกษา และศึกษานิเทศก์ ใน 4 ประเด็น ได้แก่ 1) ข้อมูลพื้นฐาน 2) มุมมองที่กรณีศึกษามีต่อการทำผลงานทางวิชาการ 3) กระบวนการทำผลงานทางวิชาการของกรณีศึกษา 4) คุณค่าที่เกิดขึ้นจากการทำผลงานทางวิชาการ โดยกรณีศึกษาเป็นบุคลากรทางการศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ได้รับการเลื่อน วิทยฐานะ จำนวน 3 กรณี ที่ผู้วิจัยเลือกแบบเจาะจงจากผู้ที่ผ่านการทำผลงานทางวิชาการในระดับชำนาญการพิเศษ และเชี่ยวชาญ โดยกรณีที่ 1 เป็นข้าราชการครู ที่ได้รับการประเมินวิทยฐานะในระดับชำนาญการพิเศษ กรณีที่ 2 เป็นผู้อำนวยการสถานศึกษาที่ได้รับการประเมินวิทยฐานะในระดับเชี่ยวชาญ และกรณีที่ 3 เป็นศึกษานิเทศก์ที่ได้รับการประเมินวิทยฐานะในระดับชำนาญการพิเศษ ทำการศึกษาด้วยระเบียบวิธีวิจัย เชิงคุณภาพ (Qualitative Research Methodology) แบบพหุกรณีศึกษา (Multi Cases Study) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) การสัมภาษณ์กลุ่ม (Group Interview) การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participation Observation) และการศึกษาเอกสารหลักฐานบันทึก (Do*****ent Study) จากนั้นนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาตรวจสอบความน่าเชื่อถือและความสมบูรณ์ครบถ้วนของข้อมูล แล้วทำการวิเคราะห์ข้อมูลแบบสร้างข้อสรุปอุปนัย (Analytic Induction)
|