 |
|
 |
บางคำถามของการวิจัยและประเมินผล Some Questions of Research and Evaluation |
|
 |
|
|
บางคำถามของการวิจัยและประเมินผล Some Questions of Research and Evaluation
รัตนะ บัวสนธ์
rattanabb1@hotmail.com
rattanabb.com
บทคัดย่อ
การวิจัยและการประเมินผล เป็นเครื่องมือสำหรับใช้ในการค้นหาความจริงและตัดสินคุณค่า
สำหรับแวดวงวิชาการในสาขาต่าง ๆ
มหาวิทยาลัยบางแห่งมีการจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนทางด้าน วิจัยและประเมินผลโดยตรง
เพื่อที่จะให้มีความรู้ความเข้าใจและการนำไปใช้อย่างถูกต้อง เหมาะสมในสาขาวิชา
ทั้งหลาย
บทความนี้ เขียนขึ้นในลักษณะการตั้งคำถาม (ปุจฉา) และการตอบ (วิสัชนา) คำถามที่สำคัญเกี่ยวกับ
การวิจัยและประเมินผล เพื่อวัตถุประสงค์ตามที่กล่าว คำหลัก : วิจัย, ประเมินผล,
ความจริง,
และ ตัดสินคุณค่า
อ่านต่อ
|
 |
|
|
|
|
|
 |
|
 |
|
 |
อาณาบริเวณความรู้ด้านวัดผล สถิติ วิจัย ประเมิน ประกันคุณภาพและการบริหารจัดการศึก |
|
 |
|
|
อาณาบริเวณความรู้ด้านวัดผล สถิติ วิจัย ประเมิน
ประกันคุณภาพและการบริหารจัดการศึกษา
รัตนะ บัวสนธ์
rattanabb1@hotmail.com
www.rattanabb.com
บทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งนำเสนอสาระความรู้ของการ
ศึกษาที่ส าคัญเกี่ยวกับด้านการวัดผล สถิติ การวิจัย การ
ประเมิน การประกันคุณภาพการศึกษาและการบริหารจัดการศึกษา
ว่าแต่ละด้านมีแนวคิดหลักอย่างไรและมี ความสัมพันธ์กันอย่างไร
โดยใช้จุดเริ่มต้นวิเคราะห์จากตัวผู้เรียนต่อเนื่องตามลำดับ ทั้งนี้
เพราะผู้เรียนคือเป้าหมาย หลักของสาระความรู้แต่ละด้านที่ต้องการ
พัฒนาผู้เรียนให้บรรลุเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษา ซึ่ง
การวัดผลการศึกษานั้นมีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อจะตรวจสอบวินิจฉัยว่า
ผู้เรียนมีพัฒนาการทางการเรียนรู้หรือไม่ มากน้อยเพียงใด
ในขณะที่สถิตินั้นก็เป็นเทคนิคหรือวิธีการที่จะนำตัวเลขที่ได้จาก
การวัดผลการศึกษามาวิเคราะห์ ศึกษา สรุปผล วิจัยทางการ
ศึกษาเป็นวิธีการหาความรู้ ความจริง ที่ครอบคลุมเกี่ยวข้อง
กับการจัดการศึกษา ซึ่ง ความรู้ความจริงทางการศึกษานั้น
มีทั้งส่วนที่เป็นตัวเลข จำนวน และส่วนที่เป็นเหตุการณ์
กิจกรรม ความหมาย ความรู้สึกนึกคิด หรือที่รู้จักกันว่าความรู้
ความจริงเชิงปริมาณ และความรู้ความจริงเชิงคุณภาพ
ในส่วนที่เป็นเชิง ปริมาณก็ต้องอาศัยสถิติมาวิเคราะห์ตอบ
คำถามของการวิจัยด้วยเช่นกัน สำหรับการประเมินทาง
การศึกษา แม้ว่า การพัฒนาความรู้ในระยะแรก ๆ จะแยก
ไม่ออกจากการวัดผลการศึกษา แต่ในปัจจุบันนั้นการประเมิน
ทาง การศึกษาได้พัฒนาความรู้ของตนเองแตกตัวแยกออก
มาจากการวัดผลการศึกษาและการวิจัยทางการศึกษาอย่าง
ชัดเจน โดยที่การประเมินทางการศึกษานั้น ก็คือกระบวน
การรวบรวมสารสนเทศเกี่ยวกับสิ่งที่มุ่งประเมิน (evaluand)
เพื่อตัดสินคุณค่าและคุณประโยชน์ของสิ่งที่มุ่งประเมินของ
การศึกษานั้น ซึ่งสิ่งที่มุ่งประเมินทาง การศึกษาก็มีขอบข่าย
กว้างไปกว่าผู้เรียน (เช่น โครงการ หลักสูตร แผนงานการ
จัดการศึกษา การประเมินบุคลากร ทางการศึกษา เป็นต้น)
แต่กระนั้นก็ตาม กระบวนการรวบรวมสารสนเทศของสิ่งที่
มุ่งประเมินนั้นก็จ าเป็นต้องใช้ วิธีการวิจัย สำหรับการค้นหา
รวบรวมหรือกล่าวอย่างง่ายว่าการประเมินต้องอาศัยสาร
สนเทศจากการวิจัยเพื่อการ ตัดสินใจตีค่านั่นเอง ในขณะ
ที่การประกันคุณภาพการศึกษานั้นก็มีการดำเนินงานส่วนหนึ่ง
ที่จำเป็นต้องใช้การ ประเมินทางการศึกษาที่เรียกว่า
การประเมินคุณภาพภายในและการประเมินคุณภาพภายนอก
(internal and external quality assessment)
เป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน และท้ายที่สุดผลที่ได
้จากการประเมินคุณภาพ ก็ จะถูกนำไปใช้สำหรับการบริหาร
จัดการศึกษาของสถาบันการศึกษานั้น ๆ โดยทุกสถาบันการ
ศึกษาก็มุ่งเน้นไปที่ การบริหารจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียน
เป็นเป้าหมายสำคัญที่สุด
คำหลัก 1. วัดผลการศึกษา ( Educational Measurement)
2.
สถิติส าหรับการวิจัย (Statistics for Research)
3.
วิจัยทางการศึกษา (Educational Research)
4.
การประเมินทางการศึกษา (Educational Evaluation)
5.
ประกันคุณภาพทางการศึกษา (Educational Quality Assurance)
6.
บริหารจัดการศึกษา (Educational Management)
บทคัดย่อ
|
 |
|
|
|
|
|
 |
|
 |
|
 |
วิจัยและพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน |
|
 |
|
|
วิจัยและพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน
(Research and Development in Curriculum and Instruction)
รัตนะ บัวสนธ์
rattanabb1@hotmail.com
มา
มุ่งมั่นมากมี
สรรพวิชา
เรียม
ยอดหญิงกัลยา โอบเอื้อ อารี
นิล
ค่าควรอัญมณี สูงล้้า
ลือนาม
พันธุ์
พรั่งพร้อมพรงาม ครอบคุ้ม ครองเทอญฯ
(แด่ มิ่งมิตรสมร : ผศ.ดร.มาเรียม นิลพันธุ์ เนื่องในวันเกษียณอายุราชการ)
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์
กล่าวถึง บทบาทของวิจัยส้าหรับการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนว่าสามารถด้าเนินการได้ในแง่มุมใดบ้าง
ด้าเนินการได้อย่างไร เมื่อด้าเนินการแล้วท้าให้ได้อะไร และน้าไปใช้ประโยชน์ในแง่มุมใด
โดยใช้มุมมองวิเคราะห์แบบอัตวิสัยของตนเอง จ้าแนกตามสาระของหลักสูตรและ การเรียนการสอน
เป็นประเด็นวิเคราะห์ น้าเสนอ สองประเด็นหลัก ได้แก่ 1) การวิจัยและพัฒนาหลักสูตร
2) การวิจัยและพัฒนาการเรียนการสอน
บทคัดย่อ
|
 |
|
|
|
|
|
 |
|
 |
|
 |
อาณาบริเวณวิจัยทางการศึกษา วิจัยและพัฒนาหลักสูตร และการประเมินโครงการทางการศึกษา |
|
 |
|
|
อาณาบริเวณวิจัยทางการศึกษา วิจัยและพัฒนาหลักสูตร และการประเมินโครงการทางการศึกษา
The Area of Educational Research, Curriculum Research and Development and
Project Evaluation in Education
รัตนะ บัวสนธ์1* Rattana Buosoute1* *Corresponding Author, E-mail: rattanabb1@hotmail.com
บูชาปูชนียาจารย์
วิ.
จัยวิจารณ์แจ้ง ประจักษ์จริง
ชัย.
ชนะสรรพสิ่ง
เขลา อวิชชา
วงษ์.
สานุศิษยา
ทั่วหล้า ปรีดี
ใหญ่.
ยิ่งเกียรติศักดิ์มี
ประดับศรี มศว.
18 มกราคม 2562
พวกเราที่เป็นนิสิตปริญญาเอกสาขาวิจัยและพัฒนาหลักสูตรแห่งสานัก มศว.ประสานมิตร จะทราบดีว่าขณะใดที่ท้อแท้สิ้นหวังหรือกาลังตกอยู่ในช่วงวิกฤติทางปัญญาในการเรียนหรือทาวิทยานิพนธ์ จะมีอาจารย์อยู่ท่านหนึ่งที่พวกเราตระหนักว่า เมื่อไปพบ พูดคุย ขอคาปรึกษา รวมทั้งบ่นเพ้อเจ้อให้ท่านฟังแล้วพวกเราก็จะได้รับคาชี้แนะ ปลุกปลอบให้กาลังใจกลับมาเสมอ แม้ว่าบางครั้งหรือลูกศิษย์บางคนจะทาให้อาจารย์นั่งฟังและส่งสายตาด้วยความเหนื่อยอ่อน (ระคนเหนื่อยหน่าย) มายังลูกศิษย์คนดังกล่าว ซึ่งตีความแห่งสายตาได้ว่า ทาไม๊ ทาไม จึงเข้าใจยากนักนะ ก็ตามที แต่อาจารย์มิเคยปฏิเสธไม่ให้ลูกศิษย์เข้าพบเลย อาจารย์มีวิธีปฏิบัติที่ถึงพร้อมด้วยพรหมวิหาร 4 อันประกอบด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา เป็นที่รับรู้โดยทั่วกันของนิสิตในสาขานี้ หรือแม้กระทั่งจะสาเร็จการศึกษาไปโลดแล่นในแวดวงวิชาการเนิ่นนานสักเท่าใด เมื่อได้พบกับอาจารย์ อาจารย์ก็จะถามไถ่สารทุกข์สุขดิบและให้คาชี้แนะอยู่เสมอมา เป็นบุญของหลักสูตรปริญญาเอกสาขาวิจัยและพัฒนาหลักสูตรแห่งสานักศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร และลูกศิษย์ทุกคนที่ได้มีโอกาสเล่าเรียนซึมซับรับรู้ทั้งเรื่องวิชาการและวิชาแห่งชีวิตจากอาจารย์ท่านนี้ครับ อาจารย์ วิชัย วงษ์ใหญ่
ขอแสดงความยินดีอย่างยิ่งกับอาจารย์ เนื่องในโอกาสที่ได้รับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาวิจัยและพัฒนาหลักสูตร
บทคัดย่อ
บทความนี้มุ่งนาเสนอขอบข่ายเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการวิจัยทางการศึกษา การวิจัยและพัฒนาหลักสูตร การประเมินโครงการทางการศึกษา โดยเชื่อมโยงให้เห็นถึงระดับความสัมพันธ์เกี่ยวข้องระหว่างเนื้อหาสาระ 3 ส่วน ซึ่งเป็นองค์ความรู้สาคัญที่ผู้ที่เป็นนักการศึกษา นักวิชาการ โดยเฉพาะนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาที่เรียนในหลักสูตรระดับปริญญาโทหรือระดับปริญญาเอกสาขาวิชาทางด้านการวิจัยการศึกษา ประเมินผลการศึกษา และวิจัยและพัฒนาหลักสูตร หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและประเมินทางสังคมศาสตร์จาเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจและทักษะความสามารถที่จะนาความรู้ทางด้านนี้ไปใช้สาหรับการดาเนินงานในวิชาชีพของตน
จุดมุ่งหมายสาคัญในการนาเสนอบทความครั้งนี้ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงมุทิตาจิตแด่ รศ.ดร.วิชัย วงษ์ใหญ่ ครูผู้ที่ลูกศิษย์เคารพยิ่ง เนื่องในโอกาสที่ครูได้รับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขาวิจัยและพัฒนาหลักสูตร
บทคัดย่อ
|
 |
|
|
|
|
|
 |
|
 |
|
 |
การวิจัยและพัฒนาการศึกษาแบบอิงพื้นที่ และการร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง |
|
 |
|
|
การวิจัยและพัฒนาการศึกษาแบบอิงพื้นที่ และการร่วมมือของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
Educational Research and Development by Area
and Stakeholders Collaboration Base
รัตนะ บัวสนธ์ rattanabb1@hotmail.com
บทคัดย่อ
Abstract
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวคิดการวิจัยและพัฒนาการศึกษาแบบอิงพื้นที่และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยการนำแนวคิดการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม แนวคิดการให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง แนวคิดการร่วมมือ และแนวคิดบริบทเชิงพื้นที่ มาประกอบกันเป็นกระบวนการทำงานวิจัยและพัฒนาการศึกษา เพื่อให้ได้นวัตกรรมทางการศึกษาที่สามารถนำไปใช้ได้จริง สอดคล้องกับบริบทการจัดการศึกษาของสถานศึกษาหรือโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในชุมชนนั้นๆ และเกิดความยั่งยืนในการนำไปใช้ ความรู้สึกการเป็นเจ้าของนวัตกรรมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกับบุคลากรในสถานศึกษาแห่งนั้น
บทคัดย่อ
|
 |
|
|
|
|
|
 |
|
 |
|
49 เรื่อง (10 หน้า, 5 เรื่องต่อหน้า) [ 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 ] |
|
|
|
|
| |
|